ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

SM1-04 : Lead Time คืออะไร


Lead Time คืออะไร หมายถึงอะไร นำมาใช้เกี่ยวกับโรงแรมได้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามาแบ่งปันความรู้ ประสบการ์ณและทำความเข้าใจกัน

โดยความหมายของคำศัพท์แล้ว จะหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนเสร็จสิ้นกระบวนการ

แล้วเกี่ยวอะไรกับโรงแรม?

สำหรับโรงแรมที่พักแล้วคำว่า Lead Time เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องได้ในหลายขั้นตอน แล้วแต่การนำมาใช้งาน หรือใช้เรียกในระหว่างกระบวนการการทำงาน เช่น

+ ระหว่างการก่อสร้าง  โรงแรมจะมีการวางแผนการสั่งเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการทำงานต่างๆ ซึ่งต้องมีการวางแผนและหาข้อมูลว่าเครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อะไรบ้างที่มีระยะเวลาการสั่งสินค้าที่ต้องใช้เวลานานตั้งแต่การสั่งซื้อจนถึงการส่งมอบสินค้าเพื่อให้โรงแรมติดตั้ง  เช่น โรงแรมที่จำเป็นต้องใช้ลิฟต์โดยสาร หรือลิฟต์ขนของ สินค้ารายการนี้เป็นสินค้าที่ต้องใช้เวลาในการสั่งสินค้า และหากต้องการเลือกแบบที่ออกแบบเฉพาะของโรงแรม ลวดลายบนผนังห้องโดยสาร แผงปุ่มกด ราวจับภายในห้องลิฟต์ อาจต้องใช้เวลานานเพิ่มขึ้น หรือแม้การเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในห้องโดยสารก็อาจมีผลต่อระยะเวลาการสั่งสินค้า   ดังนั้นทีมควบคุมการก่อสร้าง จะมีการวางแผนและหาข้อสรุปเรื่องรูปแบบกับเจ้าของโครงการตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้กำหนดวันส่งมอบลิฟต์มาถึงโครงการในสอดคล้องกับความคืบหน้าของการก่อสร้าง

+ การเตรียมการเปิดโรงแรม  แผนกต่างๆโดยเฉพาะแผนกจัดซื้อจะทำงานหนักมากเพราะต้องรวบรวมข้อมูลสินค้าเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในโรงแรมทั้งหมด หาร้านค้าเพื่อทำการเปรียบเทียบทั้งราคา เงื่อนไขการให้บริการหลังการขาย และอื่นๆ และวางแผนการจัดซื้อ สั่งสินค้าให้มาพร้อมให้ทีมทำงานได้ทันการ โดยเฉพาะห้องอาหาร และครัว ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมากและมีรายละเอียด อีกทั้งยังต้องมีการซ้อมทำอาหาร จัดจาน นำเสนอ และสรุปเรื่องต้นทุนและราคาขาย ก่อนจัดทำเป็นเมนูเพื่อให้พร้อมเปิดทันกับการเปิดโรงแรม เป็นต้น หรือแผนกแม่บ้าน ก็มีรายการของสั่งซื้อมากรายการเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ น้ำยา และอุปกรณ์ทำความสะอาด รวมทั้งรายการผ้าต่างๆ ผ้าปูเตียง ที่นอน ปลอกหมอน ฯลฯ  เพราะฉนั้นระยะเวลาตั้งแต่การสั่งซื้อจนถึงการได้รับสินค้าของทุกแผนกจึงต้องสอดคล้องไปด้วยกันทั้งโรงแรม

+ ด้านการขายและการตลาด  การทำความเข้าใจเรื่อง Lead Time จริงๆแล้วถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และอยากแนะนำให้ทุกโรงแรมนำมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเวลา และการทำการตลาดและการขายที่เข้มข้นแบบเข้าใจกลุ่มลูกค้า
ยกตัวอย่าง เริ่มจากการตั้งข้อสังเกตในการสำรองห้องพักของลูกค้าแต่ละตลาดว่ามีระยะเวลาการจองห้องพัก ตั้งแต่การเริ่มติดต่อจนถึงวันเข้าพักเป็นระยะเวลากี่วัน  ลูกค้าแต่ละประเทศมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างไร
หากเราเก็บสถิติให้ดี เราจะเห็นพฤติกรรมของลูกค้าที่ชัดเจน ซึ่งทีมขายและการตลาดสามารถนำมาปรับใช้ในการวางแผนการออกแคมเปญ ให้เข้ากับพฤติกรรมการจองห้องพัก รวมทั้งการตั้งระยะเวลาในการหวังผลจากการใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่ นึกจะออกโปรโมชั่น ก็ออก นึกจะใช้สื่อ      โซเชี่ยลโฆษณาเมื่อไหร่ก็ทำโดยไม่รู้ที่มาที่ไป

นักท่องเที่ยวต่างชาติในแถบยุโรป มีการวางแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้านานกว่านักท่องเที่ยวในแถบเอเซีย เนื่องจากระยะเวลาในการเดินทาง และฤดูกาลท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน  ตลาดเอเซียมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องความเป็นตลาดวันธรรมดาและตลาดวันหยุด ทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่องตามเทศกาลต่างๆ ใช้เวลาในการวางแผนการท่องเที่ยวไม่นานอาจแค่ 1-2 สัปดาห์อย่างมากหากเดินทางกันเป็นกลุ่ม แต่ถ้าเดินทางแค่ 2-3 คนอาจใช้เวลาสั้นๆล่วงหน้าไม่ถึง 1 สัปดาห์

สำหรับบ้านเรา ตลาดคนไทยด้วยกัน ผลจากการจัดงานท่องเที่ยวเพื่อจำหน่ายแพ็คเกจต่างๆ มีผลในการสร้างพฤติกรรมของลูกค้าในการจองที่พัก สำหรับกลุ่มลูกค้าบางกลุ่มที่ชื่นชอบงานประเภทนี้ ซึ่งนำเสนอราคาประหยัด แต่ก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขการใช้งาน และการเข้าพักตามนโยบายของแต่ละโรง  ดังนั้นเมื่อพิจารณาตลาดรวมของแต่ละโรงแรม ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการก็ควรหันมาทำความเข้าใจว่าการออกงานแบบนี้มีสัดส่วนรายได้ หรือส่วนแบ่งการตลาดต่อรายได้รวมเท่าไหร่  หรืออาจหันไปวางนโยบายกันตั้งแต่ต้นปีว่าว่าจะใช้รูปแบบงานออกร้าน ออกบูธประเภทนี้เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งที่มาของรายได้ประจำปี หรือเป็นการสร้างสีสันของกิจกรรมด้านการขายและการตลาด

ลองนำไปปรับใช้กันดู  สังเกต เก็บข้อมูล และวิเคราะห์เพื่อปรับแผนการทำงานย่อมมีประโยชน์กว่า #เห็นใครทำอะไรก็ทำตามตามกันไป



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#SM1-02 : Channel Manager คืออะไร?

สมัยก่อนการที่โรงแรมที่พักขนาดเล็กจะเปิดขายห้องพักผ่านทางช่องทางการขายออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านทางเว็บไซต์ของโรงแรมโดยตรง หรือขายผ่านทางออนไลน์เอเย่นต์หรือ OTA (Online Travel Agent) เป็นไปด้วยความไม่สะดวกมากนัก ทั้งในด้านเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการผ่านทางสัญญาณอินเตอร์เน็ทที่ยังไม่ค่อยมีความเสถียร ทั้งในเรื่องจำนวนห้องพักที่จำกัดของโรงแรมที่พักขนาดเล็ก ทำให้การจัดสรรห้องพักให้เพียงพอต่อการขายและความต้องการของเอเย่นต์ในแต่ละช่องทางการขายมีอุปสรรคและปัญหาในหลายๆกรณี เช่น มีห้องพัก 15 ห้อง อยากขายผ่านออนไลน์กับเอเย่นต์มากมายเกือบ 10 ราย แต่เมื่อมีห้องน้อย ก็ไม่กล้าที่จะเปิดห้องขายกับหลายเอเย่นต์ เพราะกลัวจะไม่สามารถจัดสรรห้องขายได้ตามที่ควรจะเป็น กลัวห้องล้น หรือขายห้องซ้ำกันเกิดเป็น Double booking หรือ overbooked ในช่วงเทศกาล  การเปิดปิดห้องพัก ต้องเข้าไปทำทีละเอเย่นต์ เพราะฉนั้นยิ่งทำสัญญาเปิดขายมากเอเย่นต์เท่าไหร่ ก็ต้องเข้าไปเปิดและปิดห้องพักทีละเอเย่นต์เป็นต้น หลายปีที่ผ่านมามีโปรแกรมที่เข้ามาช่วยจัดสรรการขายในแต่ละช่องทางการขายเกิดขึ้นและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หรือที่

SM2-02 : สื่อสารผ่านโซเชี่ยล ให้รวดเร็ว คุณทำได้

ครั้งที่แล้วเราพูดกันไปถึงวิธีการจัดการกับการใช้สื่อโซเชี่ยลให้มีประสิทธิภาพโดยการมองภาพรวมให้เห็นว่าเราทำอะไรได้บ้าง และควรวางกรอบในการใช้สื่อแต่ละประเภทอย่างไรให้ประสานงานกันได้อย่างลงตัว คราวนี้เรามาดูเพิ่มเติมว่า สิ่งที่เราสามารถลงมือทำได้ก่อนเลยมีอะไรบ้าง สำหรับโรงแรมที่พักขนาดเล็กที่มักจะมีปัญหาว่า ตอบคำถามลูกค้าไม่ทัน หลังมีรีวิวเผยแพร่ภาพสวยๆของโรงแรมคุณ ทำให้มีลูกค้าสนใจสอบถามเข้ามามากมาย จนบางโรงแรมไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และทำให้ลักษณะการสื่อสารกับลูกค้าเปลี่ยนไปจากที่เคยน่ารัก ก็กลายเป็นไม่น่ารัก จนถึงระบายอารมณ์กับลูกค้าไปบ้างในบางครั้งเมื่อถูกเร่งมากๆ ถ้าเราทำความเข้าใจตั้งแต่แรกว่าโลกออนไลน์ คือ ความรวดเร็วและเทคโนโยลี สิ่งที่เราควรทำคือ "การเตรียมการที่ดี" และเรียนรู้การใช้สื่อต่างๆอย่างถูกต้อง รู้ว่าแต่ละเครื่องมือมีทางเลือกอะไรบ้าง มีฟังก์ชันการใช้งานอะไรที่จะช่วยเราให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้นได้บ้าง และในแบบไหน การที่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น แล้วไปโทษโน่น โทษนี่ อันนี้คงไม่ใช่การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เรามาดูกันทีละขั้นตอนว่าเราสามารถ &quo