ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

#SM1-01 : OTA จำเป็นจริงหรือ?


#SM101 - OTA จำเป็นจริงหรือ?

หลากหลายความเห็นในเรื่องนี้ที่ในความเป็นจริงเราควรจะกลับมาให้ความสำคัญกับตัวธุรกิจของเราก่อนที่จะตอบคำถามว่า จำเป็นหรือไม่จำเป็น

สำหรับโรงแรมที่พักขนาดเล็ก ด้วยงบประมาณที่จำกัดในการที่จะพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้นั้น แน่นอนว่า OTA หรือ Online Travel Agent ย่อมมีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้โรงแรมของเราเป็นที่รู้จัก หรือสามารถพบเห็นได้จากช่องทางออนไลน์ต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยความเข้มแข็งของเครือข่ายและเทคโนโลยีต่างๆของผู้ให้บริการแต่ละราย และการออกแบบการใช้งานที่มีความสะดวกสบายและง่ายต่อผู้ใช้ในการปรับเปลี่ยนข้อมูล เพิ่มหรือแก้ไขรูปภาพต่างๆ ไปจนถึงการสร้างรูปแบบการทำโปรโมชั่นในแบบต่างๆ

อย่างไรก็ดี สิ่งที่เจ้าของโรงแรมที่พักขนาดเล็กและผู้บริหารควรตั้งข้อสังเกตในเบื้องต้นก่อนการตัดสินใจในการใช้บริการ OTA ได้แก่
  • ทบทวนและกำหนดช่องทางการขายห้องพักของโรงแรมว่ามีช่องทางอะไรบ้าง เช่น ลูกค้าที่ติดต่อโดยตรง ผ่านทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ ไลน์ เฟซบุ๊ค อีเมลล์  ผ่านทางตัวแทนท่องเที่ยวหรือเอเย่นต์ เป็นต้น
  • พิจารณาต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของแต่ละช่องทางการขายว่ามีปริมาณมากน้อยอย่างไร สัดส่วนค่าใช้จ่ายในแต่ละช่องทางเป็นอย่างไร ช่องทางไหนมีต้นทุนสูงที่สุด และช่องทางไหนมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด
  • โครงสร้างราคาขายในแต่ละช่องทางการขายเป็นอย่างไร
  • การจัดสรรห้องพักในแต่ละแบบสำหรับแต่ละช่องทางการขายเป็นอย่างไร มีหลักเกณฑ์ในการจัดสรรหรือไม่ เช่น ขายทุกห้องพักในทุกช่องทางการขาย หรือขายเฉพาะบางห้องพักกับบางช่องทางการขาย
  • งบประมาณด้านการขายของโรงแรม มีการวางสัดส่วนงบประมาณด้านการขายและการตลาดเป็นเท่าไหร่ของรายได้รวมของโรงแรม เพื่อจะได้บริหารจัดการได้อย่างถูกต้อง
  • การบริหารราคาขายให้เหมาะสมกับอัตราการเข้าพักของโรงแรม เช่น ในเวลาที่โรงแรมมีอัตราการเข้าพักที่สูง การทำโปรโมชั่นหรือการจัดสรรห้องพักเพื่อขายในช่องทางออนไลน์ควรเป็นในทิศทางอย่างไร

ข้อควรระวังสำหรับโรงแรมที่พักขนาดเล็ก


  • ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของ OTA หรือค่าคอมมิชชั่นที่ส่วนใหญ่เริ่มต้นตั้งแต่ 15%-20% ของรายได้ค่าห้องพัก หรือยอดจำนวนเงินที่จองห้องพักที่เกิดขึ้น
  • การมอบหมายหน้าที่การกำกับดูแลและจัดการในส่วนการจัดสรรห้องพัก และการกำหนดราคาขายแต่ละประเภทห้องพัก แต่ละ OTA (สำหรับโรงแรมที่มีโปรแกรมการจัดสรรห้องพัก หรือ Channel Manager ก็จะสะดวกมากขึ้นในการบริหารจัดการทั้งจำนวนห้องพักและราคาขายสำหรับแต่ละ OTA)
  • การกำหนดเงื่อนไขในการจอง การยกเลิกการจองห้องพัก การเปลี่ยนแปลงห้องพักของแต่ละ OTA ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่จะเน้น Free Cancellation หรือ ให้ลูกค้ายกเลิกการจองห้องพักได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ในกรณีนี้ผู้ใช้งานทางโรงแรมควรศึกษาเงื่อนไขและวิธีใช้งานให้ดีว่ามีขั้นตอนอะไรที่โรงแรมต้องดำเนินการหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ระบบรับรู้ว่ามีการยกเลิกการจอง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการคิดค่าคอมมิชชั่นกลับมาที่โรงแรมในกรณีที่มีการยกเลิกการจองไปแล้ว
  • ขนาดของรูปแบบที่ใช้ในแต่ละ OTA มักมีการกำหนดขนาดความละเอียดของภาพที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละผู้ให้บริการมีรูปแบบที่แตกต่างกัน  ข้อนี้สำคัญ เพื่อให้รูปของโรงแรมออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด หมายถึงลูกค้าที่เข้ามาดูผ่านเครื่องมือสื่อสารไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือก็จะสามารถเห็นภาพที่คมชัดและสวยงามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยสรุปสำหรับการตอบคำถามว่า "OTA จำเป็นหรือไม่ อย่างไร"  ขอให้แนวคิดเบื้องต้นไว้ประมาณนี้ก่อนเพื่อเป็นแนวทางในการ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ และจึงค่อยมาจัดสรร เพราะรูปแบบสินค้าและบริการของแต่ละโรงแรมมีความแตกต่างกัน บางโรงแรมอาจมีความจำเป็นมาก บางโรงแรมอาจมีความจำเป็นในลำดับรองลงมา แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และใช้ชีวิตและเวลาในแต่ละวันกับเครื่องมือสื่อสาร ดังนั้นการทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเข้าถึงได้ง่ายในโลกออนไลน์ OTA จึงเป็นตัวเลือกในลำดับแรกๆเสมอ ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ และกำลังคนโดยเฉพาะสำหรับโรงแรมที่พักขนาดเล็ก ที่เจ้าของกิจการมักจะนั่งบริหารงานเองในทุกๆส่วน หรือโรงแรมที่กำลังเริ่มมีทีมงานขนาดเล็กในการขับเคลื่อนธุรกิจ
ใช้ได้ แต่รู้จักใช้ให้เป็น จะเกิดประโยชน์มากที่สุด


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#SM1-02 : Channel Manager คืออะไร?

สมัยก่อนการที่โรงแรมที่พักขนาดเล็กจะเปิดขายห้องพักผ่านทางช่องทางการขายออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านทางเว็บไซต์ของโรงแรมโดยตรง หรือขายผ่านทางออนไลน์เอเย่นต์หรือ OTA (Online Travel Agent) เป็นไปด้วยความไม่สะดวกมากนัก ทั้งในด้านเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการผ่านทางสัญญาณอินเตอร์เน็ทที่ยังไม่ค่อยมีความเสถียร ทั้งในเรื่องจำนวนห้องพักที่จำกัดของโรงแรมที่พักขนาดเล็ก ทำให้การจัดสรรห้องพักให้เพียงพอต่อการขายและความต้องการของเอเย่นต์ในแต่ละช่องทางการขายมีอุปสรรคและปัญหาในหลายๆกรณี เช่น มีห้องพัก 15 ห้อง อยากขายผ่านออนไลน์กับเอเย่นต์มากมายเกือบ 10 ราย แต่เมื่อมีห้องน้อย ก็ไม่กล้าที่จะเปิดห้องขายกับหลายเอเย่นต์ เพราะกลัวจะไม่สามารถจัดสรรห้องขายได้ตามที่ควรจะเป็น กลัวห้องล้น หรือขายห้องซ้ำกันเกิดเป็น Double booking หรือ overbooked ในช่วงเทศกาล  การเปิดปิดห้องพัก ต้องเข้าไปทำทีละเอเย่นต์ เพราะฉนั้นยิ่งทำสัญญาเปิดขายมากเอเย่นต์เท่าไหร่ ก็ต้องเข้าไปเปิดและปิดห้องพักทีละเอเย่นต์เป็นต้น หลายปีที่ผ่านมามีโปรแกรมที่เข้ามาช่วยจัดสรรการขายในแต่ละช่องทางการขายเกิดขึ้นและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หรือที่

SM1-04 : Lead Time คืออะไร

Lead Time คืออะไร หมายถึงอะไร นำมาใช้เกี่ยวกับโรงแรมได้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามาแบ่งปันความรู้ ประสบการ์ณและทำความเข้าใจกัน โดยความหมายของคำศัพท์แล้ว จะหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนเสร็จสิ้นกระบวนการ แล้วเกี่ยวอะไรกับโรงแรม ? สำหรับโรงแรมที่พักแล้วคำว่า Lead Time เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องได้ในหลายขั้นตอน แล้วแต่การนำมาใช้งาน หรือใช้เรียกในระหว่างกระบวนการการทำงาน เช่น + ระหว่างการก่อสร้าง  โรงแรมจะมีการวางแผนการสั่งเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการทำงานต่างๆ ซึ่งต้องมีการวางแผนและหาข้อมูลว่าเครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อะไรบ้างที่มีระยะเวลาการสั่งสินค้าที่ต้องใช้เวลานานตั้งแต่การสั่งซื้อจนถึงการส่งมอบสินค้าเพื่อให้โรงแรมติดตั้ง  เช่น โรงแรมที่จำเป็นต้องใช้ลิฟต์โดยสาร หรือลิฟต์ขนของ สินค้ารายการนี้เป็นสินค้าที่ต้องใช้เวลาในการสั่งสินค้า และหากต้องการเลือกแบบที่ออกแบบเฉพาะของโรงแรม ลวดลายบนผนังห้องโดยสาร แผงปุ่มกด ราวจับภายในห้องลิฟต์ อาจต้องใช้เวลานานเพิ่มขึ้น หรือแม้การเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในห้องโดยสารก็อาจมีผลต่อระยะเวลาการสั่งสินค้า   ดังนั้นทีมควบคุมการก่อสร

SM2-02 : สื่อสารผ่านโซเชี่ยล ให้รวดเร็ว คุณทำได้

ครั้งที่แล้วเราพูดกันไปถึงวิธีการจัดการกับการใช้สื่อโซเชี่ยลให้มีประสิทธิภาพโดยการมองภาพรวมให้เห็นว่าเราทำอะไรได้บ้าง และควรวางกรอบในการใช้สื่อแต่ละประเภทอย่างไรให้ประสานงานกันได้อย่างลงตัว คราวนี้เรามาดูเพิ่มเติมว่า สิ่งที่เราสามารถลงมือทำได้ก่อนเลยมีอะไรบ้าง สำหรับโรงแรมที่พักขนาดเล็กที่มักจะมีปัญหาว่า ตอบคำถามลูกค้าไม่ทัน หลังมีรีวิวเผยแพร่ภาพสวยๆของโรงแรมคุณ ทำให้มีลูกค้าสนใจสอบถามเข้ามามากมาย จนบางโรงแรมไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และทำให้ลักษณะการสื่อสารกับลูกค้าเปลี่ยนไปจากที่เคยน่ารัก ก็กลายเป็นไม่น่ารัก จนถึงระบายอารมณ์กับลูกค้าไปบ้างในบางครั้งเมื่อถูกเร่งมากๆ ถ้าเราทำความเข้าใจตั้งแต่แรกว่าโลกออนไลน์ คือ ความรวดเร็วและเทคโนโยลี สิ่งที่เราควรทำคือ "การเตรียมการที่ดี" และเรียนรู้การใช้สื่อต่างๆอย่างถูกต้อง รู้ว่าแต่ละเครื่องมือมีทางเลือกอะไรบ้าง มีฟังก์ชันการใช้งานอะไรที่จะช่วยเราให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้นได้บ้าง และในแบบไหน การที่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น แล้วไปโทษโน่น โทษนี่ อันนี้คงไม่ใช่การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เรามาดูกันทีละขั้นตอนว่าเราสามารถ &quo