ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

SM2-03 : จัดกิจกรรมให้เหมาะกับเป้าหมาย

การจัดวางกิจกรรมทางการขายและการตลาดให้เหมาะสมกับประเภทของโรงแรม และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นั้น ควรจะเริ่มจากการตั้งเป้าหมายในภาพรวมก่อนว่าในแต่ละไตรมาสนั้น โรงแรมต้องการจะบรรลุเป้าหมายในเรื่องอะไร หรือมีประเด็นในเรื่องไหนที่โรงแรมยังอ่อนด้อย ยังไม่ได้ให้น้ำหนัก หรือยังไม่ค่อยมีกิจกรรมอะไรที่เกี่ยวข้องด้วย

เราอาจจะแบ่งกิจกรรมเป็นภาพใหญ่ ๆ ออกเป็น 4 ส่วนก็ได้ หรือใครจะแบ่งแยกย่อยมากกว่านี้ ก็แล้วแต่สะดวก วัตถุประสงค์คือเราต้องการเห็นภาพการขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าว่าเราได้วางกิจกรรมไว้สอดคล้องกับเป้าหมายที่เราต้องการจะเดินไปหรือไม่ อย่างไร

1) ว่าด้วยแบรนด์  ได้แก่การแสดงออกเพื่อให้ลูกค้ารับรู้ เรียนรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าและบริการของเราในรูปแบบต่าง ๆ ที่สะท้อนความเป็นตัวตนของเราผ่านทางสื่อหลากหลายรูปแบบ
2) ว่าด้วยการตลาด ได้แก่การแสวงหาช่องทางการตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
3) ว่าด้วยการขาย ได้แก่ การทำให้เกิดการซื้อสินค้าและบริการของเราเมื่อเราเจาะเข้าถึงกลุ่มตลาดเป้าหมายแล้ว
4) ว่าด้วยทีมงาน ได้แก่ การเตรียมทีมปฏิบัติการในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมทั้ง 3 ข้อข้างต้นได้อย่างราบรื่น และส่งต่อความประทับในบริการให้กับลูกค้าได้

บางครั้งเราอาจแยกไม่ออกว่าสิ่งที่เราได้ทำไปในแต่ละเดือนจะจัดอยู่ในหมวดหมู่ข้อไหน อันนี้ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรไปจนเกินเหตุ  ให้เริ่มจากลองมานั่งไล่เรียงกิจกรรมที่ได้ดำเนินการผ่านมาว่าเราได้ทำอะไรไปบ้าง นับกันเป็นกิจกรรมกันไปเลย เช่น ในเดือนที่ผ่านมา เราโพสเฟสบุ๊ก 6 ครั้ง โพสอินสตาแกรม 8 ครั้ง เชิญบล๊อกเกอร์มาเข้าพัก 1 ครั้ง ลงบทสัมภาษณ์ในแม๊กกาซีนออนไลน์ 2  ครั้ง และอื่น ๆ  ให้รวบรวมมาเลยว่าเราทำอะไรไปบ้าง




แต่ละโรงแรมก็มักจะให้น้ำหนักในการทำกิจกรรมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ แต่โรงแรมที่พักขนาดเล็ก มักไม่ค่อยได้มองถึงเป้าหมายมากนัก จะเน้นแต่ "การทำให้เกิดกิจกรรมขึ้น" ไว้ก่อน และหวังผลที่เกิดจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นตามมาจากทุก ๆ กิจกรรมที่ใส่ลงไป


 แต่เมื่อมาพิจารณาสิ่งที่ทำลงไป ก็อาจจะเห็นภาพว่า ไม่ค่อยจะเข้ากับทิศทางของธุรกิจที่ควรจะเป็น หรือเมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่า เนื้อหาที่ใช้สื่อสารนั้น เน้นหนักไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนมากเกินไป หรือละเลยจุดเด่นอื่นๆ ของโรงแรมคุณไปเพราะมัวแต่ไปให้ความสำคัญกับการได้ลงหนังสือ ลงโฆษณา ได้มีรูปของโรงแรมปรากฎลงบนสื่อ จนลืมเรื่อง "เนื้อหาสาระ" ที่ต้องการสื่อสารกับลูกค้าไป

ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้าในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ต้องการความรวดเร็ว ต้องการตอบสนองความต้องการในรูปแบบเฉพาะตัวมากขึ้น และต้องการการยอมรับในไลฟ์สไตล์ของตน ดังนั้น เนื้อหาสาระในการสื่อสารที่ควรจะบริหารจัดการให้สื่อออกไปให้กว้างขวางในสื่อทุกประเภท ได้แก่

1) ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง และแหล่งท่องเที่ยว (Destination Information)
2) ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ (Product Information)
3) ข้อมูลที่สะท้อนไลฟสไตล์ของธุรกิจ (Lifestyle Information) เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าโรงแรมเรามีไลฟสไตล์ที่ตรงกับสิ่งที่ลูกค้ากำลังมองหาอยู่


โดยสรุปแล้ว คงไม่ใช่แค่เรื่องความถี่ในการทำกิจกรรมทางการขายและการตลาด หากแต่เนื้อหาสาระที่สื่อออกไปถึงลูกค้าก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการรับรู้ เรียนรู้ และการพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อสินค้า จนเกิดความสนใจและเกิดการซื้อ คือการจองห้องพักในที่สุด

ได้เวลากลับไปทบทวนกิจกรรมต่างๆของโรงแรมคุณกันแล้ว


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#SM1-02 : Channel Manager คืออะไร?

สมัยก่อนการที่โรงแรมที่พักขนาดเล็กจะเปิดขายห้องพักผ่านทางช่องทางการขายออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านทางเว็บไซต์ของโรงแรมโดยตรง หรือขายผ่านทางออนไลน์เอเย่นต์หรือ OTA (Online Travel Agent) เป็นไปด้วยความไม่สะดวกมากนัก ทั้งในด้านเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการผ่านทางสัญญาณอินเตอร์เน็ทที่ยังไม่ค่อยมีความเสถียร ทั้งในเรื่องจำนวนห้องพักที่จำกัดของโรงแรมที่พักขนาดเล็ก ทำให้การจัดสรรห้องพักให้เพียงพอต่อการขายและความต้องการของเอเย่นต์ในแต่ละช่องทางการขายมีอุปสรรคและปัญหาในหลายๆกรณี เช่น มีห้องพัก 15 ห้อง อยากขายผ่านออนไลน์กับเอเย่นต์มากมายเกือบ 10 ราย แต่เมื่อมีห้องน้อย ก็ไม่กล้าที่จะเปิดห้องขายกับหลายเอเย่นต์ เพราะกลัวจะไม่สามารถจัดสรรห้องขายได้ตามที่ควรจะเป็น กลัวห้องล้น หรือขายห้องซ้ำกันเกิดเป็น Double booking หรือ overbooked ในช่วงเทศกาล  การเปิดปิดห้องพัก ต้องเข้าไปทำทีละเอเย่นต์ เพราะฉนั้นยิ่งทำสัญญาเปิดขายมากเอเย่นต์เท่าไหร่ ก็ต้องเข้าไปเปิดและปิดห้องพักทีละเอเย่นต์เป็นต้น หลายปีที่ผ่านมามีโปรแกรมที่เข้ามาช่วยจัดสรรการขายในแต่ละช่องทางการขายเกิดขึ้นและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หรือที่

SM1-04 : Lead Time คืออะไร

Lead Time คืออะไร หมายถึงอะไร นำมาใช้เกี่ยวกับโรงแรมได้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามาแบ่งปันความรู้ ประสบการ์ณและทำความเข้าใจกัน โดยความหมายของคำศัพท์แล้ว จะหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนเสร็จสิ้นกระบวนการ แล้วเกี่ยวอะไรกับโรงแรม ? สำหรับโรงแรมที่พักแล้วคำว่า Lead Time เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องได้ในหลายขั้นตอน แล้วแต่การนำมาใช้งาน หรือใช้เรียกในระหว่างกระบวนการการทำงาน เช่น + ระหว่างการก่อสร้าง  โรงแรมจะมีการวางแผนการสั่งเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการทำงานต่างๆ ซึ่งต้องมีการวางแผนและหาข้อมูลว่าเครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อะไรบ้างที่มีระยะเวลาการสั่งสินค้าที่ต้องใช้เวลานานตั้งแต่การสั่งซื้อจนถึงการส่งมอบสินค้าเพื่อให้โรงแรมติดตั้ง  เช่น โรงแรมที่จำเป็นต้องใช้ลิฟต์โดยสาร หรือลิฟต์ขนของ สินค้ารายการนี้เป็นสินค้าที่ต้องใช้เวลาในการสั่งสินค้า และหากต้องการเลือกแบบที่ออกแบบเฉพาะของโรงแรม ลวดลายบนผนังห้องโดยสาร แผงปุ่มกด ราวจับภายในห้องลิฟต์ อาจต้องใช้เวลานานเพิ่มขึ้น หรือแม้การเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในห้องโดยสารก็อาจมีผลต่อระยะเวลาการสั่งสินค้า   ดังนั้นทีมควบคุมการก่อสร

SM2-02 : สื่อสารผ่านโซเชี่ยล ให้รวดเร็ว คุณทำได้

ครั้งที่แล้วเราพูดกันไปถึงวิธีการจัดการกับการใช้สื่อโซเชี่ยลให้มีประสิทธิภาพโดยการมองภาพรวมให้เห็นว่าเราทำอะไรได้บ้าง และควรวางกรอบในการใช้สื่อแต่ละประเภทอย่างไรให้ประสานงานกันได้อย่างลงตัว คราวนี้เรามาดูเพิ่มเติมว่า สิ่งที่เราสามารถลงมือทำได้ก่อนเลยมีอะไรบ้าง สำหรับโรงแรมที่พักขนาดเล็กที่มักจะมีปัญหาว่า ตอบคำถามลูกค้าไม่ทัน หลังมีรีวิวเผยแพร่ภาพสวยๆของโรงแรมคุณ ทำให้มีลูกค้าสนใจสอบถามเข้ามามากมาย จนบางโรงแรมไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และทำให้ลักษณะการสื่อสารกับลูกค้าเปลี่ยนไปจากที่เคยน่ารัก ก็กลายเป็นไม่น่ารัก จนถึงระบายอารมณ์กับลูกค้าไปบ้างในบางครั้งเมื่อถูกเร่งมากๆ ถ้าเราทำความเข้าใจตั้งแต่แรกว่าโลกออนไลน์ คือ ความรวดเร็วและเทคโนโยลี สิ่งที่เราควรทำคือ "การเตรียมการที่ดี" และเรียนรู้การใช้สื่อต่างๆอย่างถูกต้อง รู้ว่าแต่ละเครื่องมือมีทางเลือกอะไรบ้าง มีฟังก์ชันการใช้งานอะไรที่จะช่วยเราให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้นได้บ้าง และในแบบไหน การที่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น แล้วไปโทษโน่น โทษนี่ อันนี้คงไม่ใช่การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เรามาดูกันทีละขั้นตอนว่าเราสามารถ &quo